
ประเด็นทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่แดงขึ้นมาตอนนี้กลายเป็นจุดสนใจจากทั่วโลกอีกครั้ง หลังจากที่เจเน็ต เยลเลน (Janet Yellen) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกคำเตือนว่ารัฐบาลสหรัฐฯ อาจผิดนัดชำระหนี้ในวันที่ 1 มิถุนายน 2023 หากไม่มีการแก้ไขเพดานหนี้
หากสภาคองเกรส (Congress) ไม่สามารถดำเนินการได้ทันท่วงที รัฐบาลสหรัฐฯ จะไม่สามารถปฏิบัติตามภาระผูกพันได้ ซึ่งอาจนำไปสู่การล่มสลายของเศรษฐกิจและก่อให้เกิดก ระทบต่อเสถียรภาพทางการเงินทั่วโลก ขณะนี้สภาคองเกรสกำลังเผชิญทางตันเนื่องจากความขัดแย้งภายใน
ขณะที่เราเข้าปี ค.ศ. 2023 วิกฤตเพดานหนี้ของสหรัฐฯ ส่งผลต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ มากขึ้นเรื่อยๆ สร้างความกังวลต่อนักลงทุนและผู้เชี่ยวชาญการเงิน ดังนั้น เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจปัญหานี้อย่างเร่งด่วน เนื่องจากอาจมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและตลาดการเงินทั่วโลกอย่างมาก
ในบทความนี้ เราจะพูดถึงเรื่องปัญหาเพดานหนี้ของสหรัฐฯ ในปี 2023 และผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และพิจารณาถึงภัยคุกคามนต่อเสถียรภาพการเงินโลกที่อาจเกิดขึ้น นอกจากนี้ เราจะมองย้อนกลับไปยังการเจรจาเพดานหนี้ครั้งก่อน เพื่อทำความเข้าใจรีแอคชันของตลาดและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อราคาสินทรัพย์
ทำความเข้าใจความเร่งด่วนของปัญหาวิกฤตเพดานหนี้สหรัฐฯ ปี 2023
ย้อนกลับไปสู่ตอนที่สหรัฐฯ แตะเพดานหนี้

เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2023 รัฐบาลกลางสหรัฐฯ มีหนี้สาธารณะทะลุข้อจำกัดการกู้ยืมตามกฎหมายกำหนดไว้ที่ 31.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือที่เรียกว่า “เพดานหนี้ (debt ceiling)” จำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 นั้นมีจำนวนมหาศาล รวมเป็นมูลค่า 25 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ เป็นผลให้กระทรวงการคลังสหรัฐฯ เริ่มใช้ “มาตรการพิเศษ” เพื่อให้รัฐบาลจ่ายบิลต่างๆ เช่น จำกัดการลงทุนบางอย่างของรัฐบาล
หลังจากเกิดความขัดแย้งระหว่างพรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกันอันขมขื่นหลายเดือน ความคืบหน้าในการแก้ปัญหานี้ก็แทบจะไม่มีเลยด้วย พรรครีพับลิกันเสนอให้ลดการใช้จ่ายเพื่อเพิ่มวงเงินกู้ยืม ในขณะที่พรรคเดโมแครตและทำเนียบขาวกำลังผลักดันให้เพิ่มวงเงินกู้ยืมแบบ stand-alone
นอกจากนี้ เจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ ได้ออกคำเตือนว่า หากสภาคองเกรสไม่เพิ่มวงเงินหนี้ รัฐบาลสหรัฐฯ อาจไม่สามารถปฏิบัติตามข้อผูกพันทางการเงินในวันที่ 1 มิถุนายนได้ สิ่งนี้สร้างแรงกดดันให้มีการดำเนินแผนการอย่างรวดเร็วเพื่อป้องกันการผิดนัดชำระหนี้ที่รุนแรง
ประธานาธิบดีโจ ไบเดนได้เชิญพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเพื่อเข้าร่วมการประชุมในสัปดาห์หน้าเพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาเร่งด่วน

หากไม่มีการเพิ่มหรือระงับเพดานหนี้ รัฐบาลอาจผิดนัดชำระหนี้ในวันที่ 1 มิถุนายน กระตุ้นให้สภาคองเกรสและทำเนียบขาวรีบหาข้อยุติ
ขณะนี้ การเจรจาเกี่ยวกับเพดานหนี้ได้มาถึงทางตันแล้ว และทั้งสองพรรคการเมืองกำลังใช้ความพยายามครั้งสุดท้ายเพื่อบรรลุข้อตกลงใหม่
จากการวิเคราะห์ของสถาบัน Brookings – Wendy Edelberg และ Louise Sheiner – ปัญหาเพดานหนี้ที่ยังไม่คืบหน้าในสภาคองเกรสอาจก่อให้เกิด “ความเสียหายอย่างมาก” ต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงเวลาที่ประเทศกำลังต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อและปัญหาการธนาคาร ซึ่งทำให้สถานการณ์ไม่มั่นคงขึ้นไปอีก
Edelberg และ Sheiner เตือนว่าหากไม่ขยายเพดานหนี้และกระทรวงการคลังสหรัฐไม่สามารถปฏิบัติตามพันธสัญญาได้ ปัญหาเศรษฐกิจอาจสะสมอย่างรวดเร็วและอาจก่อให้เกิดภาวะถดถอยอย่างรุนแรง
ปัญหาเพดานหนี้ของสหรัฐฯ ในปี 2023 จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างไร

วิกฤตเพดานหนี้ของสหรัฐฯ ได้นำไปสู่การเพิ่มวงเงินเครดิตหรือ Credit Default Swaps (CDS) โดย CDS ระยะ 6 เดือนและ 1 ปีที่ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรสหรัฐอายุ 3 เดือนได้เพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2001 ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อนโยบายการเงินของเฟด
ปัญหาเพดานหนี้มีศักยภาพในการสร้างความผันผวนอย่างมากในตลาดการเงิน โดยมีความเป็นไปได้ที่จะมีการเทขายพันธบัตรของสหรัฐฯ ซึ่งนำไปสู่การพุ่งขึ้นของอัตราดอกเบี้ยและการร่วงลงของหุ้นสหรัฐฯ และสินทรัพย์เสี่ยงอื่นๆ
สิ่งนี้อาจนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ส่งผลกระทบในทางลบต่อการบริโภคและการลงทุน และบั่นทอนความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ส่งผลให้มีการเลิกจ้างจำนวนมากและการว่างงานเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ หากอัตราดอกเบี้ยของหนี้ในประเทศเพิ่มสูงขึ้น ก็อาจเพิ่มภาระการชำระหนี้ของรัฐบาล ซึ่งทำให้ต้นทุนการกู้ยืมของรัฐบาลกลางเพิ่มขึ้นเป็น 750,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในอีก 10 ปีข้างหน้า ตามรายงานของสถาบัน Brookings Institution
ส่งผลให้หากวิกฤตเพดานหนี้ทวีความรุนแรงขึ้น เฟดอาจต้องหันไปใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น อาจงดขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายนและเลือกที่จะลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงครึ่งหลังของปีแทนเพื่อบรรเทาวิกฤต
หลังจากการประชุม FOMC ของเฟดในวันที่ 3 พฤษภาคม การคาดการณ์ของตลาดว่าจะไม่มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นเป็น 89.3% ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็น 91.5% ในวันที่ 5 พฤษภาคม ตลาดยังคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายนในช่วง 4.75% ถึง 5.00% โดยมีความเป็นไปได้ที่ 51.4% สำหรับช่วงหลัง
วิกฤตเพดานหนี้ของสหรัฐฯ จะเป็นสิ่งที่สั่นคลอนเสถียรภาพการเงินโลกหรือไม่?

นักเศรษฐศาสตร์เตือนว่าผลที่อาจเกิดขึ้นจากการผิดนัดชำระหนี้ของสหรัฐฯ จะขยายออกไปไกลเกินกว่าแค่สหรัฐฯ เหตุการณ์ดังกล่าวจะสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อเศรษฐกิจโลกซึ่งตอนนี้กำลังเผชิญกับการเติบโตที่ซบเซาอยู่แล้ว
หนังสือพิมพ์ The Wall Street Journal ยังรายงานด้วยว่าข้อสงสัยเกี่ยวกับความสามารถของรัฐบาลสหรัฐฯ ในการชำระหนี้คืนให้กับนักลงทุนที่ซื้อหลักทรัพย์ เพราะอาจส่งผลกระทบทางการเงินและเศรษฐกิจอย่างร้ายแรงทั่วโลก
นอกจากนี้ เจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ ได้ออกมาเตือนเมื่อเดือนมกราคมว่าการผิดนัดชำระหนี้อาจส่งผลกระทบในวงกว้างทั่วโลก นักวิจารณ์เช่น สแตนลีย์ ดรัคเคนมิลเลอร์ (Stanley Druckenmiller) วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลสหรัฐฯ มานานซึ่งเกี่ยวกับการใช้จ่ายที่ขาดความรับผิดชอบ โดยเรียกร้องให้มีการดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อควบคุมหนี้ของรัฐบาลกลางที่กำลังพุ่งสูงขึ้น
ในขณะเดียวกัน ไดแอน ลิม (Diane Lim) ประธานคณะกรรมการเพื่องบประมาณของรัฐบาลกลางผู้ที่มีความรับผิดชอบ ได้ชี้ให้เห็นว่าผู้กำหนดนโยบายไม่ได้วางแผนใด ๆ เพื่อจัดการกับการล้มละลายของโครงการประกันสุขภาพของรัฐบาล และ โครงการประกันสังคม ซึ่งอยู่ห่างออกไปเพียงไม่กี่ปีเท่านั้น
ตลาดตอบสนองอย่างไรในระหว่างการเจรจาเพดานหนี้ครั้งก่อน?
ดราม่าเรื่องเพดานหนี้ตอนล่าสุดเกิดขึ้นในปี 2011 เมื่อสภาคองเกรสขึ้นเพดานเพียงสองวันก่อนที่คาดว่ากระทรวงการคลังจะใช้ทรัพยากรหมด
หลังจากนั้นไม่นาน Standard & Poor’s ก็ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐจาก AAA เป็น AA+ ปฏิกิริยาของสินทรัพย์เสี่ยงออกมาเป็นลบ หุ้นร่วง ดอลลาร์ถูกเทขาย และส่วนต่างสินเชื่อกว้างขึ้น
อย่างไรก็ตาม การพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งของตั๋วเงินคลัง ซึ่งได้แรงหนุนจากความกังวลของตลาดอื่นๆ ในขณะนั้น เช่น วิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรป ช่วยชดเชยผลกระทบโดยรวมของตลาด
นอกเหนือจากปี 2011 ตลาดได้ตอบสนองต่อภาวะเศรษฐกิจและตลาดในขณะนั้นในช่วงที่ผ่านมามากขึ้น และความผันผวนที่เกี่ยวข้องกับเพดานหนี้ก็เกิดขึ้นเพียงช่วงสั้นๆ
ผลกระทบของวิกฤตเพดานหนี้สหรัฐในปี 2566 ต่อราคาสินทรัพย์

พันธบัตรสหรัฐ: อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นพุ่งสูงขึ้น
ขณะที่สหรัฐฯ เข้าใกล้เพดานหนี้ ราคาสินทรัพย์คาดว่าจะตอบสนอง โดยเฉพาะพันธบัตรสหรัฐฯ ในวิกฤตเพดานหนี้ครั้งก่อน ตั๋วเงินระยะสั้นของรัฐบาลมีมูลค่าลดลงอย่างรวดเร็วและทำให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในขณะที่พันธบัตรอายุ 10 ปีของสหรัฐฯ ยังคงเป็นทางเลือกในการลงทุนที่ปลอดภัย
แม้ความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ของรัฐบาลกลางจะเพิ่มสูงขึ้นและการปรับลดอันดับเครดิตในวิกฤตการณ์ที่ผ่านมา แต่ก็ไม่มีโอกาสผิดนัดชำระหนี้จริง อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรสหรัฐอายุ 3 เดือนในปัจจุบันได้แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2001 และผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าพันธบัตรระยะสั้นของสหรัฐจะยังคงถูกกดดันขายจนกว่าจะมีการแก้ไขปัญหาเพดานหนี้
หุ้นสหรัฐฯ: เตรียมพร้อมสำหรับขาลง
จากประสบการณ์ในอดีต หุ้นสหรัฐอาจร่วงลงอย่างรวดเร็วในเดือนที่นำไปสู่ “วันที่ X” เนื่องจากนักลงทุนเทขายสินทรัพย์เสี่ยงท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตเพดานหนี้ ซึ่งมักส่งผลให้ดัชนี VIX เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการผ่านร่างกฎหมายเพื่อเพิ่มหรือระงับเพดานหนี้ ตลาดหุ้นมักจะมีเสถียรภาพมากขึ้น
แม้ว่าหุ้นสหรัฐซื้อขายในกรอบแคบตั้งแต่ปลายเดือน มี.ค. แต่คาดว่ายังมีโอกาสปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากปัญหาเพดานหนี้ที่ทวีความรุนแรงขึ้น หากเกิดขึ้น นักลงทุนอาจต้องการใช้ประโยชน์จากหุ้นในช่วงขาลงและพิจารณาถือครองหุ้นในระยะยาวเมื่อวิกฤตได้รับการแก้ไขแล้ว
ดอลลาร์สหรัฐ: แนวโน้มขาลงยังคงเกิดขึ้นต่อไป
วิธีการจัดการปัญหาเพดานหนี้ของรัฐบาลมีผลสำคัญต่อแนวโน้มระยะสั้นของเงินดอลลาร์สหรัฐ หากย้อนดูวิกฤตเพดานหนี้ในอดีต ปี 2011 2013 และ 2021 ค่าเงินดอลลาร์มีแนวโน้มเข้าสู่วงจรขาลงนับจากทกระทรวงการคลังสหรัฐเริ่มออกคำเตือนเกี่ยวกับปัญหาเพดานหนี้ และใช้ “มาตรการพิเศษ” จนกว่าจะมีการผ่านร่างกฎหมายเพื่อแก้ไขเพดานหนี้
ตั้งแต่ไตรมาสที่สี่ของปีที่แล้ว ดัชนีดอลลาร์อยู่ในช่วงขาลง และดอลลาร์ยังคงอ่อนค่าอยู่จนถึงตอนนี้ วิกฤต sovereign credit crisis ของสหรัฐฯ ที่เกิดจากปัญหาเพดานหนี้เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ดอลลาร์อ่อนค่า โดยมีปัจจัย 3 ประการ คือ ดอลลาร์ยังไม่ส่งผลเต็มที่ต่อดอกเบี้ยของเฟด ดอลลาร์ที่เคยเป็นสินทรัพย์หลบภัยในช่วงโรคระบาดก็เปลี่ยนไปเมื่อโรคระบาดจบลง และการลดค่าเงินดอลลาร์ (de-dollarization) ได้ทำให้อุปสงค์ของเงินดอลลาร์ในต่างประเทศอ่อนแอลงอย่างมาก
หนทางข้างหน้ากับวิกฤติเพดานหนี้ของสหรัฐฯ ในปี 2023

ท้ายที่สุดแล้ว วิกฤตเพดานหนี้ของสหรัฐฯ ในปี 2023 เป็นข้อกังวลที่สำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ และประเทศอื่นๆ โดยกว้าง ซึ่งในการเจรจาเพดานหนี้ที่ผ่านมา ตลาดตอบสนองจากการที่พันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นร่วงลงอย่างรวดเร็ว และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 3 เดือนของสหรัฐฯ พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว
ในครั้งนี้คาดว่าพันธบัตรระยะสั้นของสหรัฐยังมีแรงขายมากจนกว่าปัญหาเพดานหนี้จะได้รับการแก้ไข นอกจากนี้ แนวโน้มระยะสั้นของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐมีผลอย่างมากมาจากการจัดการปัญหาเพดานหนี้ของรัฐบาล และยังคงมีแนวโน้มที่จะเงินดอลลาร์จะอ่อนค่า
สำหรับนักลงทุนแล้ว ผลกระทบของวิกฤตเพดานหนี้ต่อราคาสินทรัพย์ยังคงเป็นข้อกังวลที่สำคัญ ในขณะที่เรารอผลการเจรจาปรับเพดานหนี้ เราควรต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและพิจารณาถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับพอร์ตการลงทุนด้วย
| เกี่ยวกับ Doo Prime
เครื่องมือการซื้อขายของเรา
หลักทรัพย์ ฟิวเจอร์ส ฟอเร็กซ์ โลหะมีค่า สินค้าโภคภัณฑ์ ดัชนีหุ้น
Doo Prime เป็นโบรกเกอร์ออนไลน์ระดับนานาชาติภายใต้บริษัท Doo Group ที่ให้นักลงทุนมืออาชีพได้ซื้อขายหลักทรัพย์ ฟิวเจอร์ส ฟอเร็กซ์ โลหะมีค่า สินค้าโภคภัณฑ์ และดัชนีหุ้น ปัจจุบัน Doo Prime มอบประสบการณ์การซื้อขายที่ดีที่สุดให้ลูกค้ามากกว่า 90,000 คน โดยมีอัตราการซื้อขายเฉลี่ย 51,223 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน
Doo Prime มีใบอนุญาตจากเซเชลส์ เมอริเชียส วานูอาตู โดยมีสำนักงานในดัลลัส ซิดนีย์ สิงคโปร์ ฮ่องกง กัวลาลัมเปอร์ และอีกหลายสำนักงานทั่วโลก
ด้วยเทคโนโลยีการเงินที่สมบูรณ์แบบ พันธมิตรที่แข็งแกร่ง และทีมที่มีประสบการณ์ Doo Prime ให้ประสบการณ์การซื้อขายที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้ ให้ราคาการซื้อขายที่ดี รวมไปถึงวิธีการฝาก-ถอนที่รับรอง 22 สกุลเงิน อีกทั้ง Doo Prime ยังให้การบริการลูกค้าในหลากหลายภาษาตลอด 24 ชั่วโมง และยังสามารถทำการซื้อขายได้อย่างรวดเร็วผ่านแพลตฟอร์ม MT4, MT5, TradingView, และ InTrade ที่มีผลิตภัณฑ์มากกว่า 10,000 รายการ
วิสัยทัศน์และภารกิจของ Doo Prime คือการเป็นองค์กรเทคโนโลยีการเงินในฐานะโบรกเกอร์ด้านการลงทุนผลิตภัณฑ์ทางการเงินระดับโลก
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Doo Prime โปรดติดต่อ
โทรศัพท์
ยุโรป : +44 11 3733 5199
เอเชีย : +852 3704 4241
เอเชีย – สิงคโปร์: +65 6011 1415
เอเชีย – จีน : +86 400 8427 539
อีเมล
ฝ่ายบริการด้านเทคนิค th.support@dooprime.com
ฝ่ายขาย th.sales@dooprime.com
ข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต (Forward-looking Statement)
ข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต (Forward-looking Statement)
บทความนี้มีข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต (Forward-looking Statement) ปรากฏอยู่ เช่นคำว่า “คาดการณ์ว่า” “เชื่อว่า” “ต่อไป” “สามารถ” “ประมาณ” “คาดว่า” “หวังว่า” “ตั้งใจว่า” “อาจจะ” “วางแผนว่า” “มีแนวโน้มว่า” “คาดเดาว่า” “ควรจะ” หรือ “จะ” หรือข้อความอื่น ๆ ซึ่งเป็นการคาดการณ์ถึงเหตุการณ์ในอนาคต อย่างไรก็ตาม ในข้อความที่ไม่มีคำลักษณะนี้ปรากฏอยู่มิได้แสดงว่าข้อความเหล่านี้ไม่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต ข้อความเกี่ยวกับความคาดหวัง ความเชื่อ แผนการ จุดประสงค์ ข้อสันนิษฐาน เหตุการณ์ในอนาคต และการกระทำในอนาคตของ Doo Prime จะเป็นข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต
Doo Prime ใช้ข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตอ้างอิงมาจากข้อมูลปัจจุบันที่มีอยู่ ความคาดหวังในปัจจุบัน ข้อสันนิษฐาน การคาดคะเน และการวางแผน Doo Prime เชื่อว่าความคาดหวังในปัจจุบัน ข้อสันนิษฐาน การคาดคะเน และการวางแผนเหล่านั้นสมเหตุสมผล อย่างไรก็ตาม ข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตนี้ไม่ใช่เป็นเพียงการคาดหมายและเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงและความไม่แน่นอนที่สามารถรับรู้และไม่สามารถรับรู้ได้ แต่หลายเหตุการณ์เป็นเหตุการณ์ที่อยู่เหนือการควบคุมของ Doo Prime ความเสี่ยงและความไม่แน่นอนเหล่านี้อาจส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ และการกระทำที่แตกต่างจากที่ข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตได้แสดงออกหรือแสดงนัยไว้
Doo Prime ไม่รับรองหรือรับประกันความน่าเชื่อถือ ความถูกต้อง หรือความสมบูรณ์ของข้อความเหล่านั้น Doo Prime ไม่มีหน้าที่ส่งข้อมูลหรือแก้ไขข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตเหล่านี้
การเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง
การซื้อขายเครื่องมือทางการเงินมีความเสี่ยงสูง เนื่องจากความผันผวนของมูลค่าและราคาของเครื่องมือทางการเงิน เนื่องจากความเคลื่อนไหวทางการตลาดที่ไม่พึงประสงค์และคาดการณ์ไม่ได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่นักลงทุนในระยะเวลาที่รวดเร็วได้ ผลการลงทุนในอดีตไม่สามารถชี้วัดความสำเร็จหรือผลกำไรในการลงทุนได้ การลงทุนด้านนี้เกี่ยวข้องกับมาร์จินและเลเวอเรจ ซึ่งการลงทุนจำนวนเล็กน้อยอาจส่งผลประทบมากได้ ดังนั้น นักลงทุนควรเตรียมรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการซื้อขาย
โปรดอ่านและทำความเข้าใจความเสี่ยงของการซื้อขายเครื่องมือทางการเงินอย่างถี่ถ้วนก่อนที่จะทำธุรกรรมกับ Doo Prime หากมีข้อสงสัยในการลงทุน ควรขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูได้ที่ข้อมูลข้อตกลงการทำธุรกรรมและการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง
ข้อความปฏิเสธการรับผิดชอบตามกฎหมาย
ข้อมูลนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลทั่วไปแก่สาธารณะเท่านั้น ข้อมูลไม่ควรถูกตีความเป็นคำปรึกษาทางด้านการลงทุน คำแนะนำ ข้อเสนอ หรือคำเชิญชวนเพื่อซื้อหรือขายเครื่องมือทางการเงินใด ๆ ข้อมูลที่นำเสนอในบทความนี้จัดทำขึ้นโดยโดยไม่มีการอ้างอิงหรือพิจารณาถึงจุดประสงค์การลงทุนหรือสถานะทางการเงินของผู้ใดผู้หนึ่งแต่อย่างใด การอ้างอิงถึงประสิทธิภาพของเครื่องมือทางการเงินในอดีต เครื่องมือทางการดัชนี หรือผลิตภัณฑ์การลงทุนไม่ใช่ตัวบ่งชี้ที่เชื่อถือได้สำหรับผลลัพธ์ในอนาคต Doo Prime ไม่รับรองและรับประกันข้อมูล และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียหรือความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อมอันเป็นผลมาจากความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ของข้อมูล Doo Prime ไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียหรือความเสียหายที่เป็นผลมาจากความเสี่ยงการซื้อขาย กำไร หรือขาดทุนทั้งทางตรงและทางอ้อมที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนส่วนบุคคล