
ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย BOE ส่งสัญาณขึ้นอัตราดอกเบี้ยก่อนคาด

ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น โดยค่าเงินปอนด์วันนี้ขยับขึ้นเพียงเล็กน้อยจากระดับสูงสุดวันอังคาร หลังธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างเหนือความคาดหมาย ในเดือนพฤศจิกายน 2564
สกุลเงินสินค้าโภคภัณฑ์ยืนใกล้ระดับสูงสุดในรอบหลายเดือน ด้วยราคาวัตถุดิบที่แข็งแกร่งและความเชื่อมั่นในความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น ทำให้นักลงทุนหันหนีจากสกุลเงินสหรัฐที่ปลอดภัย ซึ่งเพิ่งได้รับแรงหนุนจากความคาดหวังว่าธนาคารกลางสหรัฐจะเริ่มลดสินทรัพย์ลง
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐ ที่ได้จากการเทียบค่าเงินดอลลาร์กับตะกร้าสกุลเงินอื่น ๆ ที่เพิ่มขึ้น 0.02% เป็น 93.558 เมื่อเวลา 00:36 น. ET (4:36 น. GMT)
- ค่าเงินเยน ย่อตัวลง 0.10% เป็น 114.14 เยนต่อดอลลาร์
- ดอลลาร์ออสเตรเลีย ขยับขึ้น 0.14% เป็น 0.7526
- ดอลลาร์นิวซีแลนด์ ขยับลง 0.15% เป็น 0.7190
- ค่าเงินหยวน ลดลง 0.02% เป็น 6.3925 หยวนต่อดอลลาร์
- ค่าเงินปอนด์ ลดลง 0.05% เป็น 1.3817 ปอนด์ต่อดอลลาร์
- ค่าเงินบาท ทรงตัวอยู่ที่ 33.375 บาทต่อดอลลาร์
“เหมือนว่า BoE กำลังขโมยสปอตไลท์จากเฟด เนื่องจาก BoE อาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยก่อนเฟด อย่างไรก็ตาม สิ่งที่อาจเป็นตัวเปลี่ยนเกมก็คือเฟดกำลังขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วตามไปด้วย” เคียวซูเกะ ซูสุกิ ประธานบริษัท Ryobi Systems จาก Financial Algotech กล่าวกับรอยเตอร์ส
อ้างอิง: th.investing.com/
น้ำมันผันผวน ช่วงบวกขาดทุน หลังอุปสงค์แข็งแกร่งขึ้น

น้ำมันผันผวนในวันพฤหัสบดีในเอเชีย สูญเสียช่วงบวกเล็กน้อยจากช่วงก่อนหน้า เนื่องจากนักลงทุนบางส่วนได้กำไรจากการวิ่งขึ้นของราคาเมื่อเร็ว ๆ นี้ อย่างไรก็ตาม ความต้องการน้ำมันในสหรัฐ และการเปลี่ยนไปใช้น้ำมันเตาจากถ่านหินและก๊าซท่ามกลางปัญหาการขาดแคลนถ่านหิน และก๊าซทั่วโลกได้ช่วยจำกัดการขาดทุนสำหรับน้ำมัน
สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันเบรนท์ ลดลง 0.08% เป็น 85.75 ดอลลาร์ เมื่อเวลา 01:05 น. ตามเวลามาตรฐานตะวันออก (5:05 น. GMT) ขณะที่ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบWTI ขยับขึ้น 0.12% เป็น 83.52 ดอลลาร์
อุปทานที่ตึงตัวหมายถึงการเพิ่มขึ้นของราคา โดยกลุ่ม OPEC ยังคงยึดมั่นในแผนที่เพิ่มอุปทานขึ้นอย่างช้า ๆ ผู้กลั่นน้ำมันกำลังเพิ่มผลผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นทั่วทั้งเอเชีย ยุโรป และสหรัฐอเมริกา แต่การซ่อมบำรุงโรงงานและราคา ก๊าซธรรมชาติ ที่สูงมีแนวโน้มที่จะจำกัดอุปทานในไตรมาสที่สี่ของปี 2564
ในขณะเดียวกัน ข้อมูลน้ำมันดิบจากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานแห่งสหรัฐอเมริกา (EIA) แสดงให้เห็นว่าเพิ่มขึ้น 431,000 บาร์เรลวันพุธ ในสัปดาห์ที่ถึงวันที่ 15 ตุลาคม การคาดการณ์ที่จัดทำโดย Investing.com คาดการณ์ว่าจะมีการผลิตสะสม 1.857 ล้านบาร์เรล ขณะที่มีการสะสมจริง 6.088 ล้านบาร์เรล ในสัปดาห์ก่อนหน้า
อ้างอิง: th.investing.com
หุ้นเวียดนามมาแรงดันยอดจองทะลุ 1,750 ล้าน

จากทุกปัจจัยที่หนุนให้เวียดนามมีความโดดเด่นและน่าสนใจ ทั้งองค์ประกอบสำคัญด้านเศรษฐกิจและโครงสร้างประชากรที่เป็นแรงผลักดันให้ประเทศมีโอกาสเติบโตสูงเป็นลำดับต้นๆ ของอาเซียน
นอกจากนี้จากการมีมาตรการที่ดีรับมือสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 การลงทุนที่เป็นเป้าหมายของฐานการผลิตจากทั่วโลก รวมถึงมูลค่าตลาดหุ้นที่มีแนวโน้มเติบโตสูงต่อเนื่อง ทำให้การเข้าลงทุนตลาดหุ้นเวียดนามที่เปี่ยมไปด้วยศักยภาพ
โดยนับว่าเป็นช่วงเวลาที่ผู้ลงทุนเล็งเห็นถึงจังหวะและโอกาส จึงไม่ยอมพลาดที่จะจัดหุ้นเวียดนามไว้ในพอร์ตระยะยาวจนดันยอดจอง กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นเวียดนาม หรือ B-VIETNAM สูงถึง 1,759.59 ล้านบาท ในช่วงไอพีโอ (IPO) เมื่อวันที่ 14-20 ตุลาคมที่ผ่านมา
อ้างอิง: prachachat.net/
เอเวอร์แกรนด์ ความกังวลเศรษฐกิจจีนรอบใหม่

สถานการณ์เศรษฐกิจที่มีความเปราะบางจากการแพร่ระบาดของโควิด การรับมือทางเศรษฐกิจของนานาประเทศในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา ทุกคนคงได้เห็นในหลายๆประเทศ พยายามผลักดันนโยบายเศรษฐกิจทั้งการเงินการคลัง เพื่อเข้ามาผลักดันการเดินหน้า
ต่อของเครื่องจักรสำคัญที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ในแต่ละตัว ประเทศยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกา ในฝั่งโลกตะวันตก หรือจีนในฝั่งโลกตะวันออก ต่างฝ่ายต่างขบเขี้ยว
เพื่อผลักดันกำลังซื้อ กำลังการผลิตภายในประเทศของตัวเอง เพื่อช่วงชิงความเป็นมหาอำนาจเศรษฐกิจโลก
สถานการณ์เศรษฐกิจที่มีความเปราะบางจากการแพร่ระบาดของโควิด การรับมือทางเศรษฐกิจของนานาประเทศในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา ทุกคนคงได้เห็นในหลายๆประเทศ พยายามผลักดันนโยบายเศรษฐกิจทั้งการเงินการคลัง เพื่อเข้ามาผลักดันการเดินหน้าต่อของเครื่องจักรสำคัญที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ในแต่ละตัว ประเทศยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกา ในฝั่งโลกตะวันตก หรือจีนในฝั่งโลกตะวันออก ต่างฝ่ายต่างขบเขี้ยว เพื่อผลักดันกำลังซื้อ กำลังการผลิตภายในประเทศของตัวเอง เพื่อช่วงชิงความเป็นมหาอำนาจเศรษฐกิจโลก
จุดสังเกตหนึ่งในฐานะนักลงทุนที่ผ่านมาในกรณีประเทศจีน ด้วยลักษณะการปกครองที่ต่างออกไปจากประเทศสหรัฐอเมริกา เรามักได้ยินการเข้ามามีอิทธิพลเหนือบริษัทในประเทศอยู่หลายต่อหลายครั้ง ทั้งการออกกฎหมายหรือการเข้าควบคุมกิจการในรูปแบบต่างๆ เช่น กรณีบริษัทในกลุ่มการศึกษา บริษัทเทคโนโลยีต่างๆ ความไม่แน่นอนของการเข้ามาควบคุมจากภาครัฐ รวมถึงความกังวลจากโควิดที่ยังคงมีการแพร่ระบาดของโรคอยู่ แม้จะดีขึ้นตามลำดับจากอัตราการฉีดวัคซีนที่สูงขึ้น แต่ก็เป็นที่น่าสังเกตตัวเลขเศรษฐกิจจีนในช่วงที่ผ่านมา
พบว่ายอดค้าปลีกปรับตัวขึ้นมาเพียง 2.5% เป็นการขยายตัวที่ช้าที่สุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคมปีที่แล้ว ซึ่งยอดค้าปลีกยังลดลงอย่างมากเมื่อนับจากเดือนกรกฎาคมปีนี้ที่มีการขยายตัว 8.5% เช่นเดียวกับตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนสิงหาคม ที่ปรับตัวขึ้น 5.3% แต่กลับชะลอตัวจากเดือนกรกฎาคมปีนี้ที่ขยายตัว 6.4% ซึ่งตัวเลขต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้เช่นกัน
ล่าสุดในกรณีปัญหาหนี้สินของ China Evergrande Group บริษัทอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่เบอร์ 2 ของประเทศจีนมีความเสี่ยงล้มละลาย จนทำให้เกิดความกังวลว่า กรณีนี้จะเป็นต้นเหตุให้เกิดวิกฤติซับไพร์มเอเชีย เพราะหนี้สินของ China Evergrande Group ที่ก่อไว้มีมูลค่าสูงถึง 356,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 1.97 ล้านล้านหยวน และมีความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ ในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้และต่อไปในอนาคต แน่นอนว่ามูลหนี้ที่ผูกโยงสถาบันการเงินต่างๆหลายๆแห่ง จากการอัดการเติบโตแบบ Leverage ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ไม่ให้กังวลไม่ได้เลย และที่ผ่านมาการเติบโตแบบ Bubble มันทำให้ยิ่งต้องเพิ่มความระมัดระวัง การ Leverage เงินลงทุนเป็นเรื่องปรกติแต่หากบริหารความเสี่ยงได้ไม่ดีผลลัพธ์
นอกจากนั้น ในกรณีปัญหาของ China Evergrande Group ยังมีในความไม่ชอบมาพากลของการบริหารกิจการอีก จากการที่มีผู้บริหาร 6 คนของบริษัทมีการไถ่ถอนผลิตภัณฑ์การลงทุนออกไปก่อน ส่วนตลาดหุ้นไม่ต้องพูดถึงได้รับรู้เรื่องนี้ไปแล้ว สัปดาห์ที่ผ่านมาทั้งดัชนี HSI ของตลาดหุ้นฮ่องกง และ CSI 300 ของตลาดหุ้นจีน ปรับตัวลดลงกว่า 3% โดยเฉพาะหุ้นที่ได้รับผลกระทบจากการเข้าควบคุมทางกฎหมายจากรัฐบาลจีนราคาก็ล่วงลงตามความกังวลของนักลงทุน ส่วนราคาหุ้นของ China Evergrande Group นั้นดิ่งลงมาตลอด ราคาปิดล่าสุดเมื่อวันศุกร์ที่ 17 กันยายน ที่ 0.40 USD
อ้างอิง: moneyandbanking.co.th