สรุปข่าวการเงินและการลงทุนประจำวันพุธ ที่ 3 พ.ย. 64

2021-11-04

สรุปข่าวการเงินและการลงทุน

ราคาน้ำมันดิบทรงตัว หลังตลาดจับตาดูการประชุมโอเปกพลัส

ราคาน้ำมันดิบทรงตัว หลังตลาดจับตาดูการประชุมโอเปกพลัส ท่ามกลางน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐที่อาจปรับตัวสูงขึ้น

ปัจจัยบวก/ลบ ราคาน้ำมันดิบปรับตัวทรงตัว หลังตลาดยังคงรอจับตาดูการประชุมกลุ่มโอเปกพลัส ที่จะมีขึ้นในวันพฤหัสที่ 4 พ.ย. 2564 นี้ ที่ทางกลุ่มมีแนวโน้มคงมติเพิ่มกำลัง
การผลิตน้ำมันดิบในเดือน ธ.ค. เพียง 0.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ตามข้อตกลงเดิม แม้ว่าหลายประเทศต่างกดดันให้ทางกลุ่มเพิ่มกำลังการผลิตมากขึ้นเพื่อชะลอความร้อนแรงของราคาน้ำมันดิบก็ตาม

ปัจจัยลบ ตลาดยังจับตาตัวเลขจากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA) ในคืนนี้ หลังนักวิเคราะห์คาดการณ์ตัวเลขน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐสิ้นสุด ณ วันที่ 29 ต.ค. 2564 จะปรับตัวเพิ่มขึ้นราว 2.2 ล้านบาร์เรล จากระดับ 430.8 ล้านบาร์เรล อีกทั้งการที่ นาย Murray Auchincloss, CFO บริษัท บีพี, เปิดเผยว่าจากอุปทานน้ำมันที่ตึงตัวรวมถึงราคาถ่านหินและแก๊สธรรมชาติที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้บริษัท บีพี ตัดสินใจเพิ่มเงินลงทุนการผลิตน้ำมันดิบจากชั้นหินดินดาน/เชลล์ออยล์ และก๊าซธรรมชาติ ในปี 2565 กว่า 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปีนี้ที่ระดับ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ราคาน้ำมันเบนซิน
ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์การใช้น้ำมันเบนซินที่ปรับเพิ่มจากการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ในภูมิภาค ท่ามกลางปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังสหรัฐที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นราว 0.9 ล้านบาร์เรล

ราคาน้ำมันดีเซล
ปรับตัวเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังจีนมีแนวโน้มส่งออกน้ำมันดีเซลสูงขึ้น ท่ามกลางความต้องการใช้น้ำมันดีเซลในภูมิภาคฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องตามมาตรการปิดเมืองที่คลี่คลาย

อ้างอิง: www.prachachat.net/

ราคาทองคำเดือนพฤศจิกายน ลุ้นเฟดปรับลดวงเงิน QE

เดือนตุลาคม ราคาทองคำ spot เคลื่อนไหวผันผวนลดน้อยลง หลังจากที่เคลื่อนไหวผันผวนมากในช่วง 2 เดือนก่อนหน้านี้ ซึ่งราคาทองคำ spot เคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ทั้งนี้ ราคาทองคำสามารถปรับขึ้นทะลุแนวต้านสำคัญ 1,800 ดอลลาร์ได้ในช่วงปลายเดือน โดยทองคำมีปัจจัยหนุนจากนักลงทุนเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อสหรัฐสูงกว่าตลาดคาด ทำให้กังวลว่าจะกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

โดยสหรัฐประกาศดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนกันยายน เพิ่มขึ้น 0.4% เมื่อเทียบรายเดือน และเพิ่มขึ้น 5.4% เมื่อเทียบรายปี สูงกว่าตลาดคาดจะเพิ่มขึ้น 0.3% เมื่อเทียบรายเดือน และเพิ่มขึ้น 5.3% เมื่อเทียบรายปี ถึงแม้ว่าดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนกันยายน เพิ่มขึ้น 0.5% เมื่อเทียบรายเดือน และเพิ่มขึ้น 8.6% เมื่อเทียบรายปี และต่ำกว่าตลาดคาดเล็กน้อย แต่ถือว่าเป็นระดับที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ทั้งนี้ เศรษฐกิจสหรัฐที่เติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลงช่วยหนุนราคาทองคำ โดยจีดีพีไตรมาส 3 ของสหรัฐเติบโตเพียง 2.0% เป็นอัตราการขยายตัวที่ต่ำที่สุดในรอบกว่า 1 ปี หลังจากที่ไตรมาส 2 เติบโต 6.7%

แนวโน้มราคาทองคำ spot เดือนพฤศจิกายน คาดเคลื่อนไหวในกรอบระหว่าง 1,720-1,830 ดอลลาร์ ปัจจัยสำคัญที่กระทบต่อราคาทองคำในเดือนพฤศจิกายน คือ การประชุมธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) การประชุมธนาคารกลางยุโรป และการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น

ประเด็นหลักที่สำคัญ คือ การประชุมเฟดในวันที่ 2-3 พฤศจิกายน ต้องติดตามว่าเฟดจะประกาศปรับลดวงเงินมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) หรือไม่ สำหรับการเปิดเผยรายงานการประชุม FOMC ประจำเดือนกันยายนระบุว่า กรรมการเฟดส่วนใหญ่เห็นว่าควรจะเริ่มปรับลดวงเงินมาตรการ QE ในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน หรือกลางเดือนธันวาคมปีนี้ และจะยุติมาตรการ QE ในช่วงกลางปีหน้า ทำให้ราคาทองคำอาจได้รับผลกระทบทางลบ แต่คาดราคาทองคำคงซึมซับประเด็นดังกล่าวไปพอสมควรแล้ว ยกเว้นว่าเฟดประกาศปรับลดวงเงินมาตรการ QE ในปริมาณที่มาก

สำหรับการประชุมธนาคารกลางยุโรปและการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น คาดว่ามีผลกระทบต่อราคาทองคำไม่มากเท่ากับการประชุมเฟด ส่วนการจ้างงานของสหรัฐเดือนตุลาคมยังเป็นปัจจัยที่จะทำให้ราคาทองคำผันผวนได้ ในกรณีที่การจ้างงานออกมาแตกต่างจากที่ตลาดคาดไว้มาก

ส่วนประเด็นเงินบาทยังคงมีผลกระทบต่อราคาทองแท่งในประเทศอย่างมาก เนื่องจากความผันผวนของเงินบาท ซึ่งเงินบาทกลับทิศทางแข็งค่าขึ้นกระทบทางลบต่อราคาทองแท่งในประเทศ หลังจากวันที่ 11 ตุลาคม นายกรัฐมนตรีได้แถลงที่จะเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำในวันที่ 1 พฤศจิกายน โดยไม่ต้องกักตัว ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วเข้าใกล้ 33 บาท/ดอลลาร์ จากที่ก่อนหน้านี้อ่อนค่าแตะ 34 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งเงินบาทเริ่มเคลื่อนไหวในกรอบแคบลงระหว่าง 33-33.50 ดอลลาร์ในช่วงครึ่งเดือนหลังสำหรับเดือนพฤศจิกายน คาดเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบระหว่าง 32.80-33.80 ดอลลาร์

อ้างอิง: www.prachachat.net/

หุ้นเอเชียปรับตัวลง ระหว่างรอผลการประชุมจากเฟด

หุ้นเอเชียแปซิฟิกส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงในเช้าวันพุธ เนื่องจากผลตอบแทนจากพันธบัตรรัฐบาลในระยะสั้นถอยกลับ ก่อน การตัดสินใจด้านนโยบายล่าสุดของธนาคารกลางสหรัฐจะมาถึง นักลงทุนยังประเมินข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดจากจีนด้วย

ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิต ของจีนขยับลง 0.15% เมื่อเวลา 21:58 น. ตามเวลามาตรฐานตะวันออก (1:58 น. GMT) และดัชนีเซินเจิ้นลดลง 0.08% ดัชนี PMI ภาคการบริการของจีนจากสถาบัน Caixin ที่เผยแพร่ก่อนหน้านี้อยู่ที่ 53.8 ในเดือนตุลาคม ซึ่งสูงกว่า 53.4 ที่บันทึกไว้ในเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย

อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียงของจีน เตือนว่าเศรษฐกิจกำลังเผชิญกับแรงกดดันใหม่ ๆ ท่ามกลางการการตุนเสบียงอาหารฤดูหนาวให้เพียงพอต่อความจำเป็น แม้ว่าการเก็งกำไรยังคงดำเนินต่อไป แต่รัฐบาลก็มองข้ามความสำคัญของปัจจัยนี้

ดัชนีฮั่งเส็ง ของฮ่องกงขยับลง 0.12% KOSPI ของเกาหลีใต้ลดลง 0.77% ในขณะที่ ASX 200 ของออสเตรเลียเพิ่มขึ้น 1.20%

ตลาดญี่ปุ่นปิดทำการในวันหยุด

หุ้นสหรัฐปิดที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกครั้ง ดูเหมือนปัญหาห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 และความวุ่นวายด้านแรงงานจะคลี่คลายลง

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 2 ปีลดลง โดยมีอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นลดลงทั่วโลกจากคำแถลงนโยบายของ ธนาคารกลางออสเตรเลีย เมื่อวันอังคารขณะที่มีการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบาย อัตราผลตอบแทนพันธบัตรออสเตรเลียลดลง เส้นอัตราผลตอบแทนของสหรัฐสูงขึ้น ในขณะวันนี้ไม่มีการซื้อขายพันธบัตรเงินสดในเอเชียเนื่องจากตลาดญี่ปุ่นปิดทำการ

ทุกสายตาจับจ้องอยู่ที่การตัดสินใจด้านนโยบายของเฟด ที่จะส่งมอบในภายหลัง ธนาคารกลางสหรัฐคาดว่าจะประกาศเริ่มลดสินทรัพย์ลง แต่เวลาที่แน่นอนของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยยังคงเสียงแตกในหมู่นักลงทุน

บางคนคาดว่าจะปรับขึ้นในปี 2565 บางคนคาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงต้นปี 2566 และคนอื่น ๆ คาดการณ์ว่าเฟดจะหลบเลี่ยงปัญหานี้ในตอนนี้

เจเน็ต แกเร็ตตี้ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ Robertson Stephens กล่าวกับ Bloomberg ว่า “คำถามใหญ่คือเฟดจะส่งสัญญาณต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเมื่อใด

“ฉันคิดว่าพวกเขาจะพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งนั้น”

ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก ธนาคารกลางอังกฤษ จะส่งมอบการตัดสินใจด้านนโยบายในวันพฤหัสบดีนี้

ด้านข้อมูล ข้อมูลการจ้างงานล่าสุดของสหรัฐฯ ซึ่งรวมถึง การจ้างงานนอกภาคการเกษตร จะถูกเปิดเผยในวันศุกร์ ดัชนี PMI ภาคการบริการจากสถาบันไอเอสเอ็ม (ISM) สหรัฐอเมริกา จะครบกำหนดในวันพุธ ตามด้วยข้อมูลการค้า ซึ่งรวมถึง การส่งออก และ นำเข้า ในวันพฤหัสบดี

อ้างอิง: th.investing.com/

ข่าวสารการลงทุนIconBrandElement

article-thumbnail

2024-05-02 | ข่าวสารการลงทุน

Non-Farm Payroll ประจำเดือนเมษายน

article-thumbnail

2023-05-24 | ข่าวสารการลงทุน

แบงก์ชาติไต้หวันเล็งพิจารณาเงินเฟ้อ-จีดีพีก่อนปรับดอกเบี้ยในการประชุมเดือนหน้า

ติดตามสรุปข่าวการเงินและการลงทุนประจำวันพุธที่ 24 พฤษภาคม 2566 ได้ที่นี่

article-thumbnail

2023-05-23 | ข่าวสารการลงทุน

เงินเฟ้อฮ่องกงพุ่ง 2.1% ในเดือนเม.ย. เหตุราคาสินค้าสูงต่อเนื่อง

ติดตามสรุปข่าวการเงินและการลงทุนประจำวันอังคารที่ 23 พฤษภาคม 2566 ได้ที่นี่