สรุปข่าวการเงินและการลงทุนที่น่าสนใจ ประจำวันศุกร์ ที่ 5 พ.ย. 64

2021-11-08

สรุปข่าวการเงินและการลงทุน

หุ้นเอเชียปรับตัวลง พันธบัตรร่วงหลัง BOE คงอัตราดอกเบี้ย

หุ้นเอเชียแปซิฟิกส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงในเช้าวันศุกร์ โดยหยุดทำการปรับฐานหลังช่วงที่ผ่านมาปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง นักลงทุนกำลังประเมินการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายของธนาคารกลางเมื่อเร็วๆ นี้ และกำลังลดความคาดหวังเกี่ยวกับแนวโน้มที่นโยบายการเงินจะเข้มงวดขึ้นเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ

  • Nikkei 225 ของญี่ปุ่นลดลง 0.65% เมื่อเวลา 22:19 น. ตามเวลามาตรฐานตะวันออก (2:19 น. GMT) และเกาหลีใต้ KOSPI ลดลง 0.74%
  • ในออสเตรเลีย ASX 200 ได้รับ 0.57% ขณะที่ ดัชนีฮั่งเส็ง ของฮ่องกงลดลง 1.23%
  • ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิต ของจีนลดลง 0.23% และ ดัชนีองค์ประกอบเสิ่นเจิ้น ลดลง 0.05% โดยทางการได้เรียกร้องให้ ซู เจีย หยิน ผู้ก่อตั้ง China Evergrande Group (HK:3333)ใช้เงินของตัวเองเพื่อบรรเทาปัญหาหนี้ของบริษัท ในส่วนอื่น ๆ ในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ประสบปัญหา นักลงทุนจับตามอง Kaisa Group Holdings Ltd. (HK:1638) ด้วยเช่นกัน
  • หุ้นสหรัฐผันผวน แม้ว่าหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีจะขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ หลังประกอบการล่าสุดของบริษัท Airbnb Inc . (NASDAQ:ABNB) ออกมาดีเกินคาด ขณะที่การคาดการณ์ของ Uber Technologies Inc . (NYSE:UBER) อ่อนแอ และ Peloton Interactive Inc .’ s (NASDAQ:PTON) หุ้นร่วงลง เนื่องจากยอดขายในช่วงโควิด-19 มีสัญญาณสิ้นสุด

ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) สร้างความประหลาดใจให้กับนักลงทุนโดย รักษาอัตราดอกเบี้ยให้คงที่ที่ 0.10% หลังส่งมอบการตัดสินใจเชิงนโยบายในวันพฤหัสบดี ธนาคารกลางสหรัฐ ยังระบุด้วยว่าจะต้อง “อดทน” ต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในขณะที่เริ่มลดสินทรัพย์ลง เนื่องจากได้ส่งการตัดสินใจหนึ่งวันก่อนที่ธนาคารกลางอังกฤษจะขึ้นอัตราดอกเบี้ย ความคืบหน้าของการฟื้นตัวของตลาดการจ้างงานจาก COVID-19 อาจเปลี่ยนการเดิมพันในนโยบายการเงิน และอาจนำไปสู่ความผันผวนในตลาดตราสารหนี้

ขณะนี้ นักลงทุนให้ความสนใจกับรายงานการจ้างงานล่าสุดของสหรัฐฯ ซึ่งรวมถึง การจ้างงานนอกภาคการเกษตร ซึ่งจะครบกำหนดในช่วงบ่ายของวัน ก่ข้อมูลที่เผยแพร่เมื่อวันพฤหัสบดีแสดงให้เห็นว่ามีการยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก จำนวน 269,000 รายในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา น้อยกว่าที่คาดการณ์

นักลงทุนบางคนเตือนว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอาจลดลงหลังจากการตัดสินใจของ BOE “การเติบโตของค่าจ้างและการจ้างงานที่แข็งแกร่ง บอกให้เรารู้ว่าเราอาจไม่เห็นผลตอบแทนพันธบัตรที่สูงขึ้นในปี 2022” เจฟฟรีส์ (NYSE:JEF) หัวหน้านักยุทธศาสตร์ด้านตราสารทุนระดับโลก ฌอน ดาร์บี้ กล่าว Bloomberg

อ้างอิง: th.investing.com/

ราคาน้ำมันขึ้นอีกครั้ง หลัง OPEC+ เพิกเฉยข้อเรียกร้องเพิ่มการผลิต

ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นในเช้าวันศุกร์ในเอเชีย โดยกลับมาขาดทุนอีกครั้งหลังจาก OPEC+) เพิกเฉยต่อการเรียกร้องให้เพิ่มอุปทานและเลือกที่จะดำเนินการผลิตต่อด้วยอัตราเท่าเดิม

สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันเบรนท์ เพิ่มขึ้น 0.97% เป็น 81.32 ดอลลาร์ เมื่อเวลา 23:31 น. ตามเวลามาตรฐานตะวันออก (3:31 น. GMT) หลังจากร่วงลงเกือบ 2% ในวันพฤหัสบดี สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบ WTI พุ่งขึ้น 1.09% เป็น 79.67 ดอลลาร์ หลังจากที่ลดลง 2.5% ในช่วงก่อนหน้า

OPEC+ เผยในวันพฤหัสบดีว่าจะยึดมั่นในแผนการเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมัน 400,000 บาร์เรลต่อวัน (bpd) ตั้งแต่เดือนธันวาคมในการประชุมครั้งล่าสุดเมื่อวันพฤหัสบดี

“การประชุมเรื่องผลผลิตของ OPEC+ ง่ายและรวดเร็ว OPEC+ ไม่เคยคิดที่จะเปลี่ยนกลยุทธ์การส่งออก ซึ่งสรุปจบในตัว” เอ็ดเวิร์ด โมยา นักวิเคราะห์ตลาดอาวุโสของ OANDA กล่าวกับรอยเตอร์ส

การระบาดของไวรัสโควิด-19 อย่างต่อเนื่องส่งผลให้ OPEC+ เคลื่อนไหวอย่างระมัดระวัง โดยวิกฤตอุปทานทั่วโลกยังทำให้ตลาดน้ำมันตึงตัวมากขึ้น ในขณะที่สมาชิก OPEC บางส่วนไม่บรรลุเป้าหมายด้านการผลิตได้ ซึ่งเพิ่มแรงกดดันต่ออุปทานน้ำมันดิบ

กลุ่มพันธมิตรเพิกเฉยต่อการเรียกร้องจากประธานาธิบดีสหรัฐ โจ ไบเดน ให้ออกผลผลิตเพิ่มเติมเพื่อลดราคาที่พุ่งสูงขึ้น โดยเพิ่มขึ้นมากถึงสองเท่าของจำนวนเงินที่ตกลงกันไว้ สหรัฐฯ ยังเป็นหนึ่งในผู้บริโภครายสำคัญที่ก่อนหน้านี้เคยพิจารณาว่าจะใช้น้ำมันสำรองของตนเองหากกลุ่ม OPEC+ ไม่เพิ่มการผลิต

OPEC+ จำกัดอุปทานเนื่องจากผลกระทบของ COVID-19 ส่งผลต่อความต้องการเชื้อเพลิง แม้ว่าน้ำมันจะพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 ปีเมื่อเร็ว ๆ นี้ แต่ก็ลดลงเมื่อต้นสัปดาห์ เนื่องจากสถาบัน สถาบันปิโตรเลียมแห่งสหรัฐอเมริกา (API) และ สำนักบริหารสารสนเทศพลังงานของสหรัฐอเมริกา(EIA) รายงานว่ามี น้ำมันดิบคงคลัง สะสมสูงขึ้น

อ้างอิง: th.investing.com/

ค่าเงินดอลลาร์เคลื่อนไหวในกรอบ หลัง Fed ประกาศลดวงเงิน QE ตามคาด

ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้าวันจันทร์ (1/11) ที่ระดับ 33.33/35 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าจากระดับปิดตลาดในวันศุกร์ (29/10) ที่ระดับ 33.18/20 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับตัวแข็งค่าหลังกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผย ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ทั่วไป ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน พุ่งขึ้น 4.4% เมื่อเทียบรายปี

ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2534 ส่วนดัชนี PCE พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน และเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญ เพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือน ก.ย. เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากเพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือน ส.ค. นอกจากนี้นางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีคลังสหรัฐเปิดเผยว่า ประธานาธิบดีโจ ไบเดน จะทำการคัดเลือกประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) คนใหม่ โดยในรายงานระบุว่า นายเจอโรม พาวเวลล์ ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานเฟดคนปัจจุบันนั้นมีแนวโน้มที่จะได้ครองเก้าอี้ต่อไปเป็นสมัยที่ 2 แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีบุคคลอื่น ๆ ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมด้วยเช่นกัน

ส่งผลให้นักเศรษฐศาสตร์และนักลงทุนบางรายแสดงความวิตกกังวลว่า ตลาดการเงินอาจจะเผชิญกับความผันผวน หากท้ายที่สุดแล้วประธานาธิบดีไบเดนเลือกประธานเฟดคนใหม่ที่พลิกโผจากการคาดการณ์ ส่วนในคืนวันจันทร์ (1/11) สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐ ปรับตัวลดลงสู่ระดับ 60.8 ในเดือน ต.ค. โดยระดับดัชนีได้รับผลกระทบจากการปรับตัวลงของคำสั่งซื้อใหม่ที่แตะระดับต่ำสุด 16 เดือน ท่ามกลางการขาดแคลน วัตถุดิบและแรงงาน

ในขณะที่ไอเอชเอส มาร์กิต เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของสหรัฐ ปรับตัวลงสู่ระดับ 58.4 ในเดือน ต.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 10 เดือน ต่อมาในคืนวันพุธ (3/11) ออโตเมติก ดาต้า โพรเซสซิ่ง อิงค์ (ADP) และมูดี้ส์ อนาลิติกส์ เปิดเผยการจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐพุ่งขึ้น 571,000 ตำแหน่งในเดือน ต.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย. จากระดับ 523,000 ตำแหน่งในเดือน ก.ย. โดยตัวเลขการจ้างงานดังกล่าวสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 400,000 ตำแหน่ง และสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคบริการของสหรัฐดีดตัวขึ้นสู่ระดับ 66.7 ในเดือน ต.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มมีการรวบรวมข้อมูลดังกล่าวในปี 2540 และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 62.0 จากระดับ 61.9 ในเดือน ก.ย.

นอกจากนี้ในคืนวันพุธ (3/11) คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับ 0.00-0.25% ในการประชุม นอกจากนี้ เฟดจะปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) เดือนละ 15,000 ล้านดอลลาร์ เริ่มตั้งแต่เดือน พ.ย. โดยเฟดจะปรับลดวงเงินซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐเดือนละ 10,000 ล้านดอลลาร์ และปรับลดวงเงินซื้อตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกันการจำนอง (MBS) เดือนละ 5,000 ล้านดอลลาร์ การลดวงเงิน QE ดังกล่าวจะทำให้เฟดยุติการทำ QE โดยสิ้นเชิงในกลางปี 2565

อย่างไรก็ดี แถลงการณ์ระบุว่าเฟดไม่ได้มีการดำเนินการอย่างตายตัว และเฟดจะทำการปรับมาตรการ หากมีความจำเป็น โดยเฟดก็พร้อมที่จะปรับวงเงินการซื้อพันธบัตร หากมีการเปลี่ยนแปลงต่อแนวโน้มทางเศรษฐกิจ ในช่วงท้ายสัปดาห์ ค่าเงินดอลลาร์ปรับตัวแข็งค่าเทียบเงินปอนด์หลัง BoE คงดอกเบี้ยในการประชุม ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐนั้น กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 14,000 ราย สู่ระดับ 269,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 2563 และต่ำกว่าที่คาดที่ระดับ 275,000 ราย

ด้านกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่าตัวเลขขาดดุลการค้าของสหรัฐพุ่งขึ้น 11.2% สู่ระดับ 8.09 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือน ก.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยสูงกว่าสถิติเดิมที่ทำไว้ในเดือน มิ.ย.ที่ระดับ 7.32 หมื่นล้านดอลลาร์ จากคาดก่อนหน้านี้ว่าจะขาดดุลการค้า 8.05 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือน ก.ย. นอกจากนี้ สหรัฐขาดดุลการค้าต่อจีนพุ่งขึ้น 15% สู่ระดับ 3.65 หมื่นล้านดอลลาร์ ส่วนในคืนวันศุกร์นี้ตลาดจับตารายงานตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือน ต.ค.อย่างใกล้ชิด

สำหรับปัจจัยภายในประเทศในวันพุธ (3/11) นายสนั่น อังอุบลกุล ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วม ภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ปรับประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปี’64 ดีขึ้นมาอยู่ในกรอบ 0.5-1.5% จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 0.0-1.0% เนื่้องจากนโยบายเปิดประเทศในวันที่ 1 พ.ย. 2564 และการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการและประชาชน

ส่วนการส่งออก ยังคงคาดว่ามีแนวโน้มจะขยายตัวราว 12-14% ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ในกรอบ 1.0-1.2% ซึ่งมองว่าตัวเลขนี้อยู่ในเงื่อนไขที่ไม่มีการระบายซ้ำเพิ่มเติมของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 33.00-33.40 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ก่อนปิดตลาดในวันศุกร์ (5/11) ที่ระดับ 33.32/34 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโร ค่าเงินยูโรเปิดตลาดในวันจันทร์ (1/11) ที่ระดับ 1.1558/60 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร อ่อนค่าจากระดับปิดตลาดในวันศุกร์ (29/10) ที่ระดับ 1.1652/54 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร โดยค่าเงินยูโรปรับตัวอ่อนค่าหลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อในคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา

สำหรับตัวเลขเงินเฟ้อในแถบยูโรโซนนั้น สำนักงานสถิติยุโรป (Eurostat) เปิดเผย อัตราเงินเฟ้อของประเทศในยูโรโซนเดือน ต.ค.ปรับตัวขึ้นสูงสุดในรอบ 13 ปี โดยอัตราเงินเฟ้อของกลุ่มประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโร 19 ประเทศปรับตัวขึ้นแตะ 4.1% ในเดือน ต.ค.จากระดับ 3.4% ในเดือน ก.ย. และมากกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ 3.7%

ทั้งนี้ ในวันพุธ (3/11) นายคริสติน ลาการ์ด ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) ส่งสัญญาณว่า ECB ไม่มีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีหน้า เนื่องจากเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำ โดยกล่าวว่า “แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อดีดตัวขึ้นในขณะนี้ แต่มีแนวโน้มปรับตัวลงในระยะกลาง ทำให้ ECB ยังไม่มีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า” โดย ECB คาดการณ์ว่าเงินเฟ้อจะปรับตัวต่ำกว่าเป้าหมายของ ECB ที่ระดับ 2% ในปีหน้า จากระดับสูงกว่า 4% ในขณะนี้

นอกจากนี้ นางลาการ์ดยังกล่าวว่า ECB จะยังคงเดินหน้าซื้อพันธบัตรเพื่อให้อัตราผลตอบแทนปรับตัวลง โดยระหว่างสัปดาห์ค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวในกรอบ 1.1585-1.1690 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร และปิดตลาดในวันศุกร์ (5/11) ที่ระดับ 1.1557/61 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร

สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยน ค่าเงินเยนเปิดตลาดในวันจันทร์ (1/11) ที่ระดับ 114.14/16 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าจากระดับปิดตลาดในวันศุกร์ (29/10) ที่ระดับ 113.72/74 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 10 ปี อย่างไรก็ตาม สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นเปิดเยว่า ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคญี่ปุ่นประจำเดือน ต.ค.ปรับตัวขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบเกือบ 2 ปีครึ่ง เนื่องจากยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศลดลงมาก จนส่งผลให้รัฐบาลญี่ปุ่นยกเลิกภาวะฉุกเฉินในทุกพื้นที่ โดยดัชนีความเชื่อมั่น ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.4 จุดจากเดือน ก.ย. มาอยู่ที่ 39.2 จุดในเดือน ต.ค. ซึ่งเป็นตัวเลขสูงสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค. 2562 ซึ่งเป็นช่วงก่อนเกิดการระบาดโรคโควิด-19

นอกจากนี้ผลการเลือกตั้งที่พรรคแอลดีพีคว้าชัยชนะตามความคาดหมาย และได้ครองที่นั่งข้างมากในสภา ซึ่งจะทำให้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านสภาอย่างราบรื่น หลังจากก่อนเลือกตั้ง นายฟูมิโอะ คิชิเดะ ให้ได้คำมั่นสัญญาว่าจะทุ่มงบประมาณนับล้านล้านเยนเพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก

นอกจากนี้ในวันพฤหัสบดี (4/11) นายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) เปิดเผยว่าบีโอเจ ยังไม่มีความจำเป็นที่ต้องยกเลิกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่ในเร็ว ๆ นี้ หลังเฟดประกาศตัดสินใจที่จะเริ่มปรับลดวงเงิน QE เมื่อคืนวันพุธ โดยระบุว่าจะผ่อนคลายทางการเงินอย่างต่อเนื่องเพื่อบรรลุเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่ระดับ 2%

ทั้งนี้ระหว่างสัปดาห์ค่าเงินเยนเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 113.30-114.30 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดในวันศุกร์ (5/11) ที่ระดับ 113.77/78 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ

อ้างอิง: www.prachachat.net/

ข่าวสารการลงทุนIconBrandElement

article-thumbnail

2024-05-02 | ข่าวสารการลงทุน

Non-Farm Payroll ประจำเดือนเมษายน

article-thumbnail

2023-05-24 | ข่าวสารการลงทุน

แบงก์ชาติไต้หวันเล็งพิจารณาเงินเฟ้อ-จีดีพีก่อนปรับดอกเบี้ยในการประชุมเดือนหน้า

ติดตามสรุปข่าวการเงินและการลงทุนประจำวันพุธที่ 24 พฤษภาคม 2566 ได้ที่นี่

article-thumbnail

2023-05-23 | ข่าวสารการลงทุน

เงินเฟ้อฮ่องกงพุ่ง 2.1% ในเดือนเม.ย. เหตุราคาสินค้าสูงต่อเนื่อง

ติดตามสรุปข่าวการเงินและการลงทุนประจำวันอังคารที่ 23 พฤษภาคม 2566 ได้ที่นี่