
นักวิเคราะห์คาดเฟดใช้เวทีประชุมวันนี้ส่งสัญญาณพร้อมขึ้นดอกเบี้ยเดือนมีนาคม

ตลาดการเงินทั่วโลกจับตาผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งจะมีการแถลงในวันนี้ตามเวลาสหรัฐ หรือในช่วงเช้าตรู่ของวันพรุ่งนี้ตามเวลาไทย ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า คณะกรรมการเฟดจะใช้การประชุมในครั้งนี้เพื่อส่งสัญญาณถึงความพร้อมที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค. และคาดว่าเฟดจะพิจารณาใช้นโยบายคุมเข้มด้านการเงินในด้านอื่น ๆ ซึ่งถือเป็นการยุติการดำเนินนโยบายผ่อนคลายทางการเงินที่เฟดเคยนำมาใช้เพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา
สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า นายมาร์ค คาบานา นักวิเคราะห์จากแบงก์ ออฟ อเมริกา คาดการณ์ว่า เฟดจะออกแถลงการณ์ใหม่เพื่อแสดงให้เห็นว่า เฟดมีเป้าหมายที่จะสกัดเงินเฟ้อ และคาดว่าเจ้าหน้าที่เฟดจะระบุว่า คณะกรรมการเฟดมีความพร้อมที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (Federal Funs Rate) อย่างเร็วที่สุดในเดือนมี.ค. แม้การดำเนินการดังกล่าวอาจส่งผลให้ตลาดหุ้นเผชิญกับการปรับฐาน (Correction) ก็ตาม
“เราไม่คาดอยู่แล้วว่า เฟดจะยังใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงิน แต่เมื่อพิจารณาจากตลาดพันธบัตรที่อาจจะมีปฏิกิริยาต่อการร่วงลงของตลาดหุ้น รวมทั้งความตึงเครียดด้านการเมืองระหว่างประเทศ ทำให้เราคาดว่า เฟดจะไม่แสดงท่าทีที่จะใช้นโยบายคุมเข้มด้านการเงินที่รุนแรงเกินไป แต่ถึงกระนั้นก็ตาม เราเชื่อว่าเฟดจะไม่ปฏิเสธกระแสคาดการณ์ที่ว่า อาจจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 4 ครั้งในปีนี้”
นายคาบานากล่าวว่า การที่ตลาดหุ้นร่วงลงอย่างหนัก อันเนื่องมาจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดนั้น อาจทำให้เฟดดำเนินนโยบายยากลำบากขึ้น นอกจากนี้ การที่โควิด-19 ยังคงแพร่ระบาด และการที่รัสเซียขู่ใช้กำลังทหารรุกรานยูเครน อาจจะทำให้เฟดต้องตระหนักถึงความเสี่ยงเหล่านี้ด้วย
ทางด้านนางไดแอน สวองค์ นักวิเคราะห์จากบริษัท Grant Thornton กล่าวว่า “สิ่งที่เฟดจะต้องทำก็คือ การพูดให้ชัดว่าจะรับมือกับความเสี่ยงเหล่านี้อย่างไร เฟดควรพูดว่า ‘เราจะต้องจัดการกับปัญหาเงินเฟ้อ และสิ่งที่เราเห็นในขณะนี้คือนโยบายการเงินอยู่ในลักษณะผ่อนคลายมากจนเกินไป’ ทั้งหมดนี้คือถ้อยแถลงที่เฟดจะสามารถสื่อได้ในเวลานี้”
อ้างอิง: infoquest.co.th/
ตลาดหุุ้นเอเชียปรับตัวขึ้น ก่อนหน้าประกาศผลประชุมเฟด

หุ้นเอเชียแปซิฟิกส่วนใหญ่ปรับตัวขึ้น ในเช้าวันพุธ หลังจากทรงตัวหลังจากตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดผันผวนอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม นักลงทุนต่างรอ การตัดสินใจด้านนโยบาย ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
- นิคเคอิ 225 ของญี่ปุ่นลดลง 0.46% เมื่อเวลา 21:06 น. ตามเวลามาตรฐานตะวันออก (2:06 น. GMT) ขณะที่ KOSPI ของเกาหลีใต้เพิ่มขึ้น 0.28%
- ดัชนีฮั่งเส็ง ของฮ่องกงเพิ่มขึ้น 0.76%
- ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิต ของจีนเพิ่มขึ้น 0.34% และ ดัชนีองค์ประกอบ SZSE เพิ่มขึ้น 0.88%
- ตลาดออสเตรเลีย ปิดทำการในวันหยุด
S&P 500 ปิดใกล้ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2021 ในวันอังคาร ขณะที่ Nasdaq 100 ปรับตัวต่ำลง ความสนใจของนักลงทุนอยู่ที่ การตัดสินใจด้านนโยบายของเฟดที่กำลังจะมาถึง การตัดสินใจจะได้รับการประเมินอย่างถี่ถ้วนเพื่อหาเบาะแสเกี่ยวกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยและตารางเวลาการลดการซื้อสินทรัพย์ แต่คาดการณ์กันอย่างกว้างขวางว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะเริ่มในเดือนมีนาคม 2022
ในขณะที่เฟดสามารถกระตุ้นการขายได้มากขึ้นหากใช้โทนแบบ hawkish แต่ประธานเฟด เจอโรม พาวเวลล์ อาจกล่าวว่านโยบายขึ้นอยู่กับข้อมูลและห่วงโซ่อุปทานกำลังดีขึ้น ในขณะที่บ่งชี้ว่าอัตราเงินเฟ้ออาจถึงจุดสูงสุด ฟรานเชส สเตซี่ นักยุทธศาสตร์ด้านพอร์ตการลงทุนของ Optimal Capital กล่าวกับ Bloomberg “ฉันคิดว่าสิ่งที่จะสร้างความมั่นใจให้กับตลาดคือความพร้อมของเฟดจ ซึ่งอาจทำให้เกิดความกระตือรือร้นอย่างจริงจัง” เธอกล่าวเสริม
นักลงทุนรายอื่นมีมุมมองที่แตกต่างออกไป “ความเคลื่อนไหว hawkish แบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ ของพาวเวลล์เป็นเพียงการเคลื่อนไหวแบบ dovish ในมุมมองของตลาด หากเขากล่าวว่าเฟดมุ่งมั่นที่จะรักษาอัตราเงินเฟ้อและยังคงหวังว่าการปรับขึ้นสองสามครั้งก็เพียงพอ นั่นคือการปรับราคาในตลาดแล้ว” สตีเวน อิงแลนเดอร์ หัวหน้ากลยุทธ์ฝ่ายวิจัยของ Standard Chartered PLC กล่าวในหมายเหตุ
อย่างไรก็ตาม หุ้นทั่วโลกลดลงกว่า 7% ในปี 2022 จนถึงปัจจุบัน และโอกาสที่ธนาคารกลางจะถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจากโควิด-19 ที่เริ่มชะลอตัว อาจหมายถึงความผันผวนของตลาดที่เพิ่มขึ้น
ความเสี่ยงต่อ “หุ้นเติบโต” กำลังเพิ่มขึ้น โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศได้ลดการคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2022 เนื่องจากแนวโน้มที่อ่อนแอสำหรับสหรัฐฯ และจีนพร้อมกับอัตราเงินเฟ้อที่คงอยู่ นักยุทธศาสตร์จาก Goldman Sachs Group Inc. กล่าวเตือน
อย่างไรก็ตาม เอ็ด แอคตัน นักยุทธศาสตร์ของ Citigroup Inc. มีน้ำเสียงที่เป็นบวกมากขึ้น “สำหรับเฟด การที่สินทรัพย์เสี่ยงถูกเทขายทำให้งานของพวกเขายากขึ้นอย่างแน่นอน แต่เราไม่เห็นระดับของเงื่อนไขทางการเงินที่กระชับขึ้นเมื่อเทียบกับ dovish เฟดอาจพยายามเน้นย้ำความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อในปัจจุบันว่าเป็น ‘ข้อจำกัด’ ของนโยบายการเงินในอนาคต” เขากล่าวในหมายเหตุ
ธนาคารกลางแคนาดา ยังได้มอบการตัดสินใจด้านนโยบายในช่วงท้ายของวัน โดยที่ ธนาคารกลางแอฟริกาใต้ จะส่งมอบตามมาในอีกหนึ่งวันให้หลัง
อ้างอิง: th.investing.com
วิกฤตยูเครน! ดันน้ำมัน,ทองคำปิดพุ่ง/ดาวโจนส์ลดลง

สถานการณ์ความตึงเครียดยูเครนและรัสเซีย ทำหุ้นดาวโจนส์ปิดลบ 66.77 จุด ด้านราคาน้ำมันพุ่ง 2.29 ดอลลาร์ ขณะที่ทองคำ บวก 10.80 ดอลลาร์
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 34,297.73 จุด ลดลง 66.77 จุด หรือ -0.19%, ดัชนี เอสแอนด์พี 500 ปิดที่ 4,356.45 จุด ลดลง 53.68 จุด หรือ -1.22% และดัชนีแนสแดค ปิดที่ 13,539.30 จุด ลดลง 315.83 จุด หรือ -2.28%
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบในวันที่ 25 ม.ค. เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ยูเครนและแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
ด้าน สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เทกซัส อินเตอร์มีเดียต หรือไลต์สวีตครูด งวดส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ เพิ่มขึ้น 2.29 ดอลลาร์ ปิดที่ 85.60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ด้านเบรนต์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนมีนาคม เพิ่มขึ้น 1.93 ดอลลาร์ ปิดที่ 88.20 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยได้แรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า สถานการณ์ตึงเครียดระหว่างรัสเซียและบรรดาชาติพันธมิตรขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต) จะส่งผลกระทบต่ออุปทานน้ำมันในตลาดโลก
ขณะที่ราคาทองคำโคเม็กซ์งวดส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ เพิ่มขึ้น 10.80 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,852.50 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เนื่องจากสถานการณ์ตึงเครียดในยูเครนยังคงเป็นแรงผลักดันให้นักลงทุนเดินหน้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย
อ้างอิง: posttoday.com/
ราคาทองวันนี้ (26 ม.ค. 65) คงที่ ทองรูปพรรณบาทละ 29,300 บาท

ราคาทองคำวันนี้ (26 ม.ค. 2565) คงที่ เมื่อเทียบกับราคาปิดเมื่อวานนี้ (25 ม.ค.) โดยราคาทองรูปพรรณขยับมาอยู่ที่บาทละ 29,300 บาท ตามข้อมูลจากเว็บไซต์ของสมาคมค้าทองคำ หรือ Gold Traders Association เมื่อ 9.26 น.ที่ผ่านมา
ทองคำแท่งมีราคารับซื้อในประเทศอยู่ที่บาทละ 28,700 บาท ขายออกบาทละ 28,800 บาท ตามประกาศครั้งล่าสุด
สำหรับทองรูปพรรณ 96.5% รับซื้ออยู่ที่บาทละ 28,182.44 บาท และขายออกที่ราคา 29,300 บาท ทั้งนี้ ในส่วนของราคาทองคำโลก (Gold Spot) อยู่ที่ระดับ 1,848.00 เหรียญสหรัฐ/ออนซ์
อ้างอิง: prachachat.net