
ดอลลาร์แข็งค่า หลังตัวเลขจ้างงานน่าผิดหวัง เฟดตั้งท่าลด QE

ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นในเช้าวันจันทร์ในเอเชียแตะระดับสูงสุดในรอบสองปีครึ่งเมื่อเทียบกับเงินเยน ตัวเลขจากรายงานล่าสุดของสหรัฐฯ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงความคาดหวังของตลาดว่าธนาคารกลางสหรัฐจะเริ่มลดสินทรัพย์ลงทันทีในเดือนพฤศจิกายน 2564
- ดัชนีดอลลาร์สหรัฐ ที่ได้จากการเทียบค่าเงินดอลลาร์กับสกุลเงินอื่นเพิ่มขึ้น 0.01% เป็น 94.093 ภายใน 22:54 PM ET (2:54 AM GMT)
- ค่าเงินเยน ขึ้น 0.30% เป็น 122.56 ยังคงอยู่เหนือ 112 เยนต่อดอลลาร์
- ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย เพิ่มขึ้น 0.27% เป็น 0.7326 โดยที่ซิดนีย์ของออสเตรเลียเปิดทำการอีกครั้งหลังจากการล็อกดาวน์นานกว่า 100 วัน คู่เงิน ค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ ขยับลง 0.04% เป็น 0.6935
- ค่าเงินหยวน ลดลง 0.10% เป็น 6.4373 หยวนต่อดอลลาร์ ในขณะที่ ค่าเงินปอนด์ เพิ่มขึ้น 0.25% เป็น 1.3645 ปอนด์ต่อดอลลาร์
รายงานการจ้างงานในสหรัฐฯ นั้นออกมาน่าผิดหวัง โดย การจ้างานนอกภาคการเกษตร
อยู่ที่ 194,000 ตำแหน่ง และ อัตราการว่างงาน อยู่ที่ 4.8% ในเดือนกันยายน เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และความกังวลเรื่องเงินเฟ้อยังคงอยู่ เฟดจึงมีแนวโน้มที่จะ
เริ่มลดสินทรัพย์ลงภายในปี 2564 ตามที่คาดไว้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐพุ่งขึ้น
หลังการเปิดเผยข้อมูล โดยผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีแตะระดับสูงสุดในรอบ
4 เดือน ที่ 1.617% สหรัฐฯ ประกาศข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึง ดัชนีราคาผู้บริโภค ในวันพุธ
หากข้อมูลออกมาสูงกว่าที่คาดไว้ นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก่อนกำหนดหลังจากการลดระดับสินทรัพย์ อาจส่งผลให้ค่าเงินสหรัฐแข็งค่าขึ้น ในขณะเดียวกันธนาคารกลางอังกฤษ ก็ส่งสัญญาณว่าสามารถขึ้นอัตราดอกเบี้ยเช่นกัน เงินปอนด์ ฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดในรอบ 9 เดือน ในเดือนสิงหาคม ด้านสกุลเงินดิจิตอล Bitcoin มั่นคงที่ 54,782 ดอลลาร์ หลังจากแตะระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือนที่ 56,561 ดอลลาร์ในวันอาทิตย์ ส่วนค่าเงินบาท ยังทรงตัวอยู่ที่ 33.80 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
อ้างอิง: th.investing.com
นักวิเคราะห์ชี้เฟดเจอโจทย์ยากในการประชุม 2-3 พ.ย. หลังตัวเลขจ้างงานคลุมเครือ

นักวิเคราะห์ระบุว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเผชิญการตัดสินใจที่ยากลำบากในการประชุมนโยบายการเงินในวันที่ 2-3 พ.ย. หลังการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ไร้ทิศทางในวันนี้ “เฟดต้องการเห็นตัวเลขจ้างงานจำนวนมากเพื่อให้การตัดสินใจ
ถอนมาตรการผ่อนคลายทางการเงินเป็นไปอย่างง่ายดาย แต่ตอนนี้ คาดว่าการหารือกัน
ในการประชุมวันที่ 2-3 พ.ย. จะเป็นไปด้วยความยากลำบาก และตลาดจะต้องรับมือกับความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้น” นายคาร์ล แทนเนนบอม นักเศรษฐศาสตร์จากนอร์ทเทิร์น ทรัสต์ กล่าว
ก่อนหน้านี้ มีการคาดการณ์กันว่า เฟดจะประกาศกำหนดเวลาในการเริ่มปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในเดือนพ.ย. และจะดำเนินการปรับลดจริงในเดือนธ.ค. ก่อนที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2565 ซึ่งคาดการณ์ไทม์ไลน์ดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงไป หลังการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานในวันนี้
โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นเพียง 194,000 ตำแหน่งในเดือนก.ย. ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 500,000 ตำแหน่ง หลังจากแตะระดับ 366,000 ตำแหน่งในเดือนส.ค. อย่างไรก็ดี อัตราการว่างงานปรับตัวลงสู่ระดับ 4.8% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ.2563 และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 5.1% จากระดับ 5.2% ในเดือนส.ค.
กระทรวงแรงงานสหรัฐยังได้ปรับตัวเลขการจ้างงานในเดือนก.ค. โดยปรับเป็นเพิ่มขึ้น 1,091,000 ตำแหน่ง จากเดิมที่รายงานว่าเพิ่มขึ้น 1,053,000 ตำแหน่ง และปรับตัวเลขการจ้างงานในเดือนส.ค. โดยปรับเป็นเพิ่มขึ้น 366,000 ตำแหน่ง จากเดิมที่รายงานว่าเพิ่มขึ้น 235,000 ตำแหน่ง กระทรวงแรงงานสหรัฐระบุว่าในเดือนก.ย. ภาคเอกชนมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 317,000 ตำแหน่ง ขณะที่ภาครัฐจ้างงานลดลง 123,000 ตำแหน่ง
ขณะเดียวกัน ตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงโดยเฉลี่ยของแรงงาน ซึ่งเป็นข้อมูลที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญเพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ภาวะเงินเฟ้อ เพิ่มขึ้น 0.6% และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ระดับ 0.4% นักลงทุนมองต่างมุมเกี่ยวกับการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรในวันนี้ โดยบางส่วนผิดหวังต่อตัวเลขดังกล่าว โดยมองว่าตัวเลขจ้างงาน
ที่ต่ำกว่าคาดบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานสหรัฐยังคงอ่อนแอ และส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจสหรัฐยังไม่ฟื้นตัวขึ้น หลังได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่นักลงทุนอีกส่วนหนึ่งมองมุมบวกว่า ตัวเลขการจ้างงานที่ต่ำกว่าคาดดังกล่าว จะทำให้เฟดยังไม่เร่งประกาศปรับลดวงเงิน QE และปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
ทางด้านผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนก.ย.ถือเป็นโจทย์ยากของเฟดในการตัดสินใจว่าจะถอนการผ่อนคลายนโยบายการเงินตามแผนที่คาดไว้หรือไม่ เนื่องจากรายละเอียดในรายงานตัวเลขจ้างงานฉบับนี้บ่งชี้ทิศทางที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ แม้ว่าตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรโดยรวมต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์อยู่มาก แต่อัตราการว่างงานที่ดีกว่าคาด และอยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบกว่า 1 ปี ก็ได้ช่วยผ่อนคลายความกังวลต่อตลาดแรงงาน นอกจากนี้ การที่กระทรวงแรงงานสหรัฐได้ปรับเพิ่มตัวเลขการจ้างงานในเดือนก.ค.และส.ค. ก็ได้บ่งชี้การฟื้นตัวของตลาดแรงงาน
อ้างอิง: ryt9.com/
ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่ม หลังตลาดกังวลวิกฤตพลังงานขาดแคลน

ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่ม หลังตลาดกังวลวิกฤตพลังงานขาดแคลน จะส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
ปัจจัยบวก ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แตะระดับสูงสุดในรอบ 7 ปีสำหรับน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสและในรอบ 3 ปี สำหรับน้ำมันดิบเบรนท์ หลังตลาดกังวลวิกฤตพลังงานขาดแคลนทั่วโลกจะส่งผลให้อุปสงค์น้ำมันดิบเพิ่มขึ้น จากการใช้น้ำมันทดแทนก๊าซธรรมชาติและถ่านหินในการผลิตไฟฟ้า เนื่องจากราคาก๊าซธรรมชาติและถ่านหินอยู่ในระดับสูง ขณะที่อุปทานจากกลุ่มโอเปกพลัสเพิ่มขึ้นในระดับจำกัดที่เพียง 0.4 ล้านบาร์เรลต่อวันเท่านั้น อีกทั้งสหรัฐยังคงไม่มีการออกมาตรการเพื่อสกัดราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น
โดยราคาน้ำมันเบนซินล่าสุดเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 6 ปี ปัจจุบันสหรัฐอยู่ระหว่าง
การพิจารณาใช้มาตรการต่าง ๆ เช่น การปล่อยน้ำมันดิบออกจากคลังสำรองทางยุทธศาสตร์ (SPR) และการระงับการส่งออกน้ำมันดิบ ในการควบคุมราคาที่สูงขึ้น แต่ยังไม่มีการประกาศบังคับใช้
ปัจจัยลบ การผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หลังผู้ผลิตเพิ่มการขุดเจาะขึ้น
ต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 5 ติดต่อกัน โดย Baker Hughes รายงานปริมาณการขุดเจาะน้ำมันดิบของสหรัฐ สำหรับสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 8 ต.ค. ปรับตัวเพิ่มขึ้น 5 แท่น มาอยู่ที่ระดับ 433 แท่น ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดนับตั้งแต่ เม.ย. 63
ราคาน้ำมันเบนซิน
ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ในภูมิภาคที่ยังคงเติบโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะอินเดียและอินโดนีเซีย นอกจากนี้ ราคายังได้รับแรงหนุนจากปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังที่สิงคโปร์ ที่ปรับตัวลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 11 เดือน
ราคาน้ำมันดีเซล
ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงหนุนจากอุปทานในภูมิภาคที่ปรับตัวลดลง โดยเฉพาะจากจีน นอกจากนี้ ราคายังได้รับแรงหนุนจากปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังที่สิงคโปร์ที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกันสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 4 สัปดาห์
อ้างอิง: prachachat.net
ทองคำปรับตัวลง เฟดคาดการณ์ลด QE ตามตารางเวลาที่เคยให้ไว้

ราคาทองคำร่วงลงในเช้าวันจันทร์ในเอเชีย เนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) แห่งสหรัฐฯ คาดว่าจะเริ่มลดสินทรัพย์ลงตามไทม์ไลน์ แม้ว่าจะมีข้อมูลที่น่าผิดหวังในรายงานการจ้างงานล่าสุดของสหรัฐฯ
สัญญาซื้อขายล่วงหน้าราคาทองคำ ขยับลง 0.14% สู่ $1,754.95 เมื่อเวลา 00:14 น. ตามเวลามาตรฐานตะวันออก (4:14 น. GMT) โดยทองคำแตะระดับสูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์ในวันศุกร์ หลังการเปิดเผยรายงานการจ้างงานในสหรัฐฯ ออกมาย่ำแย่กว่าคาด
ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งปกติจะเคลื่อนผกผันกับทองคำ ขยับขึ้นในวันจันทร์และ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายน 2564 ในวันศุกร์ แม้ว่าตลาดแรงงานในสหรัฐฯ จะยังคงได้รับผลกระทบของโควิด-19 อยู่ แต่ก็
เร็วเกินไปที่จะบอกว่ามัน “ซบเซา” แมรี ดาลี ประธานเฟดแห่งซานฟรานซิสโกกล่าว
อัตราทองคำรูปพรรณในอินเดียพลิกกลับเข้าแดนลบเป็นครั้งแรกในรอบกว่าสองเดือน
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยราคาทองคำในท้องถิ่นที่สูงขึ้นทำให้อุปสงค์ลดลง ในขณะเดียวกัน การซื้อทองคำในจีนคาดว่าจะฟื้นตัว โดยตลาดจะเปิดขึ้นอีกครั้งหลังจากวันหยุดยาว
สำหรับโลหะมีค่าอื่น ๆ เงินลดลง 0.1% ในขณะที่แพลตตินั่มลดลง 0.4% มาที่ 1,022.42 ดอลลาร์ พัลลาเดียมพุ่งขึ้น 2.6% สู่ระดับ 2,130.94 ดอลลาร์ หลังจากแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 13 กันยายนในช่วงก่อนหน้านี้
อ้างอิง: th.investing.com