เฟดน่าจะยังคงมีมุมมองต่อการปรับลด QE ไม่เปลี่ยนแปลงจากที่ตลาดรับรู้ไปแล้ว ในการประชุมวันที่ 21-22 ก.ย. นี้

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่าเฟดจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.0-0.25% และน่าจะ
ยังคงไม่ประกาศการลดวงเงิน QE (QE tapering) ในการประชุมนโยบายการเงินที่จะมีขึ้นในวันที่ 21-22 ก.ย. นี้ โดยเฟดน่าจะยังคงมีมุมมองต่อการปรับลด QE ไม่เปลี่ยนแปลงจาก
ที่ตลาดรับรู้ไปแล้วว่าเฟดจะเริ่มลดวงเงิน QE ในสิ้นปีนี้
ในการประชุมนโยบายการเงินครั้งนี้ คาดว่าเฟดคงส่งสัญญาณผ่านถ้อยแถลงว่าเฟดมีมุมมองระมัดระวังต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ หลังจากเครื่องบ่งชี้เศรษฐกิจบางตัว อาทิ ตัวเลขการจ้างงานภาคการเกษตร และดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ (Services PMI) เดือนส.ค. ออกมาต่ำกว่าที่คาด ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมถึงปัญหาคอขวดในห่วงโซ่อุปทานที่ยังคงกดดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ
อย่างไรก็ดี คาดว่าเฟดคงมีมุมมองที่มั่นใจว่าในภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงมีโมเมนตัมการฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่องและมีความคืบหน้าในการบรรลุเป้าหมายของเฟด โดยอัตราว่างงานได้ลดลงอย่างต่อเนื่องและมาอยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบ 17 เดือนที่ 5.2% ในเดือน ส.ค.
ที่ผ่านมา ขณะที่แรงกดดันจากเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับสูงเนื่องจากปัญหาขาดแคลนแรงงานและปัญหาคอขวดในห่วงโซ่อุปทานคาดว่าจะไม่คลี่คลายลงในระยะเวลาอันใกล้ ส่งผลให้เฟดคงจำเป็นที่จะต้องประกาศลดวงเงิน QE เพื่อรักษาเสถียรภาพทางด้านราคาให้สอดคล้องไปกับเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยที่ 2% ของเฟด
ถ้อยแถลงของเฟดคงจะเป็นการเน้นย้ำให้ตลาดยังคงคาดการณ์ว่าเฟดจะมีการเริ่มลดวงเงิน QE ในสิ้นปีนี้ตามที่ตลาดรับรู้ไปแล้วก่อนหน้านี้ เพื่อหลีกเลี่ยงการสร้างความตื่นตระหนกในตลาดและเพื่อรักษาความน่าเชื่อถือของเฟด โดยเฟดคงจะประกาศแผนลดวงเงิน QE ในการประชุมนโยบายการเงินครั้งหน้าในเดือนพ.ย. และเริ่มลดวงเงิน QE ในเดือนธ.ค. ที่จะถึงนี้ โดยเฟดมีแนวโน้มที่จะทยอยลดวงเงิน QE อย่างค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปอีกทาง เฟดก็ยังคงมีความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนนโยบายในระยะข้างหน้า
อ้างอิง: thaipr.net
ราคาน้ำมันดิบปรับลง 0.89% หลังกำลังการผลิตสหรัฐฟื้นตัว

ราคาน้ำมันดิบโลกปรับลง 0.44-0.89% ภายหลังกำลังการผลิตน้ำมันในสหรัฐเริ่มกลับมา
ฟื้นตัวจากพายุเฮอร์ริเคน-แท่นขุดเจาะน้ำมันเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 411 แท่น สูงสุดนับตั้งแต่ เม.ย.63 ส่วนเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าต่อเนื่องยังกดดันทิศทางราคา
โดยราคาน้ำมันดิบต่างประเทศประจำวันที่ 20 ก.ย.64 มีการเปลี่ยนแปลงตามชนิดที่อ้างอิง ดังนี้
• เวสต์เท็กซัส (WTI) อยู่ที่ 72.61 ดอลลาร์/บาร์เรล ปรับลง 0.64 ดอลลาร์ หรือปรับลง 0.89%
• เบรนท์ (Brent) อยู่ที่ 75.67 ดอลลาร์/บาร์เรล ปรับลง 0.33 ดอลลาร์ หรือปรับลง 0.44%
ส่วนค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบหลายสัปดาห์และ
ส่งผลกดดันต่อราคาน้ำมันต่อเนื่อง หลังตัวเลขยอดค้าปลีกสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่า
ที่ตลาดคาดการณ์ไว้และเพิ่มขึ้น 0.7% จากเดือนก่อนหน้า สะท้อนให้เห็นถึงเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ยังคงเติบโตต่อเนื่อง
อ้างอิง: businesstoday.co
นักวิเคราะห์ชี้วิกฤตเอเวอร์แกรนด์เสี่ยงกระทบตลาดอสังหาฯ จีนแบบโดมิโน

นักวิเคราะห์จากบริษัทอัลไลแอนซ์เบิร์นสไตน์ (AllianceBernstein) เตือนถึงผลกระทบแบบโดมิโนจากความเสี่ยงที่เอเวอร์แกรนด์อาจล้มละลายว่า บริษัทในภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนที่ประสบปัญหาสภาพคล่องอย่างหนักมีความเสี่ยงสูงที่จะล้มละลาย หลังจากที่บริษัทไชน่า เอเวอร์แกรนด์ กรุ๊ป (China Evergrande Group) บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย
์รายใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของจีนมีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับการผิดนัดชำระหนี้
โดยมีบริษัทอสังหาริมทรัพย์จำนวนมากที่ส่งสัญญาณว่ากำลังประสบปัญหาอย่างหนัก บริษัทเหล่านี้ไม่สามารถประคองธุรกิจต่อไปได้นาน หากช่องทางในการรีไฟแนนซ์ยังคง
ถูกปิดกั้นต่อไป นอกจากนี้บริษัทอสังหาริมทรัพย์รายอื่นๆ ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าเอเวอร์แกรนด์และประสบปัญหาเช่นกัน โดยคิดเป็น 10-15% ของตลาดอสังหาริมทรัพย์โดยรวม หากมีการล้มละลายเกิดขึ้นก็อาจส่งผลกระทบในเชิงระบบไปสู่ภาคส่วนอื่นๆ ของเศรษฐกิจด้วย
อ้างอิง: infoquest.co.th
SET ร่วง 10 จุด ตามตลาดตปท. กังวลเฟดปรับลด QE เร็ว

ดัชนีตลาดหุ้นไทย ณ เวลา 11.27 น. อยู่ที่ 1,615.90 จุด ลดลง 9.75 จุด หรือ 0.60% สูงสุดที่ 1,620.72 จุด ต่ำสุดที่ 1,614.90 จุด มูลค่าการซื้อขาย 32.11 หมื่นล้านบาท สำหรับตลาดหุ้นไทยต้นภาคเช้าปรับตัวลง 10 จุด
ตามตลาดต่างประเทศ และแรงขายทำกำไรหุ้นขนาดใหญ่ หลังนักลงทุนจับตาการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟด (FOMC)วันที่ 21 – 22 ก.ย.นี้ ว่าจะมีการ
ส่งสัญญาณปรับลด QE อย่างไร
แนวโน้มตลาดยังขาดปัจจัยบวก รวมทั้งรอคอยประชุม FOMC (รู้ผลเช้าวันพฤหัส) ทำให้
การลงทุนสัปดาห์นี้ เน้นเก็งกำไรแบบวันต่อวันไปก่อน ผลของเงินบาทอ่อนค่า (เข้าใกล้ 34 บาท) จะมีผลต่อหุ้นขนาดใหญ่ที่นักลงทุนต่างประเทศเล่นกัน แต่อาจหนุนราคาหุ้นกลุ่ม
ส่งออก (SUN, TU, ASIAN) ยังให้ความสนใจหุ้นที่ลงทุนหรืออิง เทคโนโลยีเหมือนสัปดาห์ก่อน ชอบกลุ่ม JMART(JMART, SINGER),SYNEX , AS, FORTH พอร์ตหุ้นวันนี้นำ KCE, TVO ออกจากพอร์ต เพิ่มหุ้น KEX, และ ITEL* เข้ามาแทน หุ้นในพอร์ตประกอบด้วย KEX(15%), ITEL(15%), JMT(15%), NEX (15%), SABUY(15%), CENTEL(10%)
บทวิเคราะห์วันนี้ (20 ก.ย.2564) คาด SET แกว่งตัว 1,615 – 1,635 จุด ภาวะตลาดขาดปัจจัยใหม่ อีกทั้งมีความกังวลการปรับขึ้นภาษีนิติบุคคลของสหรัฐจาก 21% เป็น 26.5% และนักลงทุนชะลอการลงทุนเพื่อรอผลการประชุม FOMC วันที่ 21 – 22 ก.ย.ว่าจะลดการใช้ QE เร็วขึ้นหรือไม่ซึ่งกดดันต่อภาวะตลาด อย่างไรก็ตามคาดว่าจะมีแรงซื้อในกลุ่มที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว เช่น กลุ่มส่งออก กลุ่มกำไร ไตรมาส 3/25664 เติบโตช่วยพยุงดัชนี
อ้างอิง: kaohoon.com